วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

Assignment 6
ให้นักศึกษาตอบคำถามของแต่ล่ะหน่วยในหนังสือที่ได้มาสัปดาห์ที่แล้วทุกบท
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่1
1.จงให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศ
ตอบ   เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อให้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์หรือหมายถึงการนำความรู้ ทักษะ และทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกหรือตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ เช่น การนำทรายซึ่งเป็นสารประกอบของซิลิกอนที่มีราคาต่ำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์และไอซี ซึ่งไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้ทำชิพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ ทำให้มีราคาสูงเทคโนโลยีจึงเป็นหนทางที่จะช่วยพัฒนาให้สินค้าและบริการต่างๆ มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

         สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความ อย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เช่น ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมหรือสัญญาณระบบต่างๆ การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบดาวเทียม การจองตั๋วเครื่องบิน การกดเงินจาก ATM เป็นต้น


2.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหมายถึงอะไร
        คือ  เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และ ระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย (ความ หมายตามที่ให้ไว้ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความจำเป็น ต่อชีวิตประจำวันทุกวันนี้อย่างยิ่ง จึงตั้งหน่วยงานขึ้นรองรับและบริการ เกิดเป็นกระทรวงใหม่ชื่อ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สาร-Ministry of Information and Communication Technology” หรือกระทรวงไอซีที-ICT
3.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร
         กำเนิดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่ โบราณกาลมาแล้ว หน่วยเล็กที่สุดของสังคมคือครอบครัวขนาดใหญ่ขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จนในที่สุดเป็นเมือง และเป็นประเทศตามลำดับ มนุษย์แต่ละหมู่เหล่ามีการติดต่อสื่อสารพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรคที่ชุมชนของตนไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พึ่งมีขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 20 ปีที่ผ่านมานี่เอง เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมเทคโนโลยี 2ประเภทเข้าด้วยกัน คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคม กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คำว่า สารสนเทศ หมายถึง ตัวเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสาร โดยใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ ปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งพัฒนามาจากเครือข่ายโทรทัศน์และเครือข่ายวิทยุ มาสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น เป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์
4.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการโดยย่ออย่างไร
ตอบ เกิดจากการรวมของเทคโนโลยี 2 ด้าน คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคม และ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
5.ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence:AI) หมายถึงอะไร และมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไร 
ตอบ    หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่นๆอย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลายๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่นๆ

1) ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล คือ หุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่นหุ่นยนต์กู้ระเบิด
2)ระบบประมวลภาษาพูด คือการพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติเพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่นนาฬิกาปลุกพูดได้
3)ระบบการรู้จำเสียง คือการพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง เช่นงานระบบรักษาความปลอดภัย
4)ระบบผู้เชี่ยวชาญ คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มีหรือจากประสบการณ์แก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล  ซึ่งมนุษย์เป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว 
6.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร
1.ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและกว้างไกล
2.ช่วยให้วิทยาการต่างๆเจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
3.รับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
4.ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง
5.สามารถเผยแพร่สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู้สังคมโลกได้โดยง่าย
6.กระจายโอกาสด้านการศึกษาให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถเรียนรู้ผ่านระบบการสอนทางไกลหรือผ่านดาวเทียมได้
7.สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะอย่างไร 
1. สารสนเทศที่ดีต้องมีความความถูกต้อง (Accurate) และไม่มีความผิดพลาด
2. ผู้ที่มีสิทธิใช้สารสนเทศสามารถเข้าถึง (Accessible) สารสนเทศได้ง่าย ในรูปแบบ และเวลาที่เหมาะสม ตาม
ความต้องการของผู้ใช้
3. สารสนเทศต้องมีความชัดเจน (Clarity) ไม่คลุมเครือ
4. สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ (Complete) บรรจุไปด้วยข้อเท็จจริงที่มีสำคัญครบถ้วน
5. สารสนเทศต้องมีความกะทัดรัด (Conciseness) หรือรัดกุม เหมาะสมกับผู้ใช้
6. กระบวนการผลิตสารสนเทศต้องมีความประหยัด (Economical) ผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจมักจะต้องสร้างดุลยภาพ
ระหว่างคุณค่าของสารสนเทศกับราคาที่ใช้ในการผลิต
7. ต้องมีความยึดหยุ่น (Flexible) สามารถในไปใช้ในหลาย ๆ เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์
8. สารสนเทศที่ดีต้องมีรูปแบบการนำเสนอ (Presentation) ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
9. สารสนเทศที่ดีต้องตรงกับความต้องการ (Relevant/Precision) ของผู้ที่ทำการตัดสินใจ
10. สารสนเทศที่ดีต้องมีความน่าเชื่อถือ (Reliable) เช่น เป็นสารสนเทศที่ได้มาจากกรรมวิธีรวบรวมที่น่าเชื่อ ถือ หรือแหล่ง (Source) ที่น่าเชื่อถือ เป็นต้น
11. สารสนเทศที่ดีควรมีความปลอดภัย (Secure) ในการเข้าถึงของผู้ไม่มีสิทธิใช้สารสนเทศ
12. สารสนเทศที่ดีควรง่าย (Simple) ไม่สลับซับซ้อน มีรายละเอียดที่เหมาะสม (ไม่มากเกินความจำเป็น)
13. สารสนเทศที่ดีต้องมีความแตกต่าง หรือประหลาด (Surprise) จากข้อมูลชนิดอื่น ๆ
14. สารสนเทศที่ดีต้องทันเวลา (Just in Time : JIT) หรือทันต่อความต้องการ (Timely) ของผู้ใช้ หรือสามารถส่ง
ถึงผู้รับได้ในเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
15. สารสนเทศที่ดีต้องเป็นปัจจุบัน (Up to Date) หรือมีความทันสมัย ใหม่อยู่เสมอ มิเช่นนั้นจะไม่ทันต่อการ
เปลี่ยนแปลงที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
16. สารสนเทศที่ดีต้องสามารถพิสูจน์ได้ (Verifiable) หรือตรวจสอบจากหลาย ๆ แหล่ง ได้ว่ามีความถูกต้อง
8.จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ปัจจุบันสำนักงานได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้งานในสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น กล่าวคือ ทำให้งานมีความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ในงานสำนักงาน ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีด อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เครื่องถ่ายเอกสาร ผลิตภัณฑ์เหล่านี้นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้หลายลักษณะ เช่น


1.1 งานจัดเตรียมเอกสาร เป็นการใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียม อุปกรณ์ประกอบการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ระบบประมวลผลคำ แบ่งออกได้ 2 ระบบ คือ
1.1.1 ระบบเดี่ยว (Stand – alone) เป็นระบบที่สามารถประมวลผลได้ภายในคอมพิวเตอร์ชุดเดียว หรือจะเชื่อมโยงไปยังคอมพิวเตอร์อื่น ๆ
1.1.2 ระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงสารสนเทศซึ่งกันและกันผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.2 งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายข้อมูลสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่าง ๆ อาจกระทำโดยการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถปฏิบัติงานกระจายเอกสารได้โดยอัตโนมัติ ได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.3 งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถทำได้ทั้งระบบออฟไลน์และระบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่ายโทคมนาคมรูปแบบอื่น เช่นระบบฐานข้อมูลเป็นต้น

                                 https://sites.google.com/site/pnru261/_/rsrc/1314954752182/tecnology-for-life/account_online_flow_enlarge.jpg?height=211&width=400

1.4 งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ดำเนินงานดังกล่าว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ โทรทัศน์

1.5 งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง เช่น โทรศัพท์ การประชุมทางโทรศัพท์

1.6 งานสื่อสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น

2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเข้ามาช่วยในการจัดการระบบงานการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุการเงิน บุคลากร และงานด้านอื่น ๆ ในโรงงาน

                                       https://sites.google.com/site/pnru261/_/rsrc/1314954867941/tecnology-for-life/45641146.jpg?height=224&width=320

3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอน โอนเงิน และนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของธนาคารด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลของธนาคารต่างสาขา ต่างธนาคาร ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเบิก ถอน โอนเงินชำระเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้โดยสะดวก

4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล

5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข เช่น
5.1 ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ถูกนำมาใช้ในระบบงานเวชระเบียน ระบบข้อมูลยาการรักษาพยาบาล การคิดเงิน รวมทั้งการส่งเวชระเบียนผ่านระบบโทรคมนาคมที่อาจเรียกว่า โทรเวชได้
5.2 ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการดูแลรักษาโรคระบาดในท้องถิ่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคในหมู่บ้าน ซึ่งอาจกลายเป็นโรคระบาดได้
5.3 ระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยโรค เช่น ระบบ Mycinของมหาวิทยาลัยสแดนฟอร์ด โดยเริ่มมาใช้ในการวินิจฉัยโรคพืชและโรคสัตว์ ที่ใช้หลักการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้โดยละเอียดแล้วใช้หลักปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยวิเคราะห์ เป็นแนวคิดในการทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เหมือนมนุษย์


                                      https://sites.google.com/site/pnru261/_/rsrc/1314955060306/tecnology-for-life-1/flow%2520scan.jpg?height=210&width=320


6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการฝึกอบรมการศึกษา ดังนี้
6.1 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นการนำเอาคำอธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านคำอธิบายเหล่านั้น คอมพิวเตอร์จะมีส่วนที่ใช้ทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ หากเข้าใจไม่ถูกต้องคอมพิวเตอร์จะทำการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น แล้วถามซ้ำอีก
6.2 การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบตั้งแต่แบบง่าย ๆ เช่น การเรียนการสอนผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงใช้ระบบแพร่ภาพการสอนผ่านดาวเทียม หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล โดยผู้สอนและผู้เรียนสามารถสื่อสารถึงกันได้ทันที่ เพื่อสอบถามข้อสงสัยหรืออธิบายคำสอน เพิ่มเติม
6.3 เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษาเพื่อให้ครูอาจารย์และนักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อแสวงหาความรู้ที่มีอยู่มากมายในโลก และใช้บริการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ทาง การศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail : E-mail) การเผยแพร่และค้นหา ข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)

                                                     https://sites.google.com/site/pnru261/_/rsrc/1314955159228/tecnology-for-life-1/2_1_~1.GIF?height=200&width=200
6.4 การใช้งานในห้องสมุด มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานโดยมีเครือข่ายต่าง ๆ ที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนในการให้บริการห้องสมุด การนำเทคโนโลยี
สารสนเทศมาใช้ในห้องสมุดให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบริการยืม คืน การค้นหาหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์ หรือการค้นหาข้อมูลที่ต้องการทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมาก
6.5 การใช้งานในห้องปฏิบัติการ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานในห้องปฏิบัติการร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมืออื่น ๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การ ควบคุม การทดลอง
6.6 การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียน นักศึกษา การเลือกวิชาเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลการเรียน การแนะแนวอาชีพ การแนะแนวการศึกษาต่อ การเก็บข้อมูลผู้ปกครองหรือข้อมูลครู ซึ่งทำให้ครูอาจารย์สามารถติดตามและดูแล นักเรียนได้ใกล้ชิดมากขึ้น รวมทั้งครูอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงขึ้น
9.จงอธิบายกระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน
       กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้ความ เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน  การเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น  มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในทุกสาขาอาชีพ  เช่น       การสื่อสาร  การธนาคาร   การบิน  วิศวกรรม  สถาปัตยกรรม  การแพทย์ การศึกษาหรือการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว  การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของโลกได้ทันเหตุการณ์  สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถาน ที่  เช่น  การถ่ายทอดสด  การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ รายการแข่งขันกีฬา  การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่าง ๆ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน  สร้างภาพกราฟิก  เก็บข้อมูล  สืบค้นข้อมูล  ฟังเพลง  รวมถึงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน  จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งาน คอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน  ช่วยส่งเสริมทักษะและสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กัน         
                การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ มากมาย  เช่น  การใช้โทรศัพท์ต้องอาศัยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็น คลื่นสัญญาณไฟฟ้า และจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณเสียงที่เครื่องโทรศัพท์ปลายทาง  ส่วนการใช้โทรศัพท์มือถือในการสื่อสารคลื่นเสียงจะถูกเปลี่ยนเป็นคลื่น สัญญาณไฟฟ้าวิ่งผ่านอากาศไปยังสถานีแม่ข่ายหรือดาวเทียมเพื่อส่งต่อคลื่นสัญ ณาณไฟฟ้าไปยังเครื่องรับโทรศัพท์ปลายทาง  ดังนั้นเครื่องโทรศัพท์มือถือทั่วไปจะต้องมีเครื่องรับและส่งสัญญาณคลื่น เสียงที่เราพูดคุยกัน  และในปัจจุบันเราสามารถสื่อสารระหว่างกันโดยการใช้โทรศัพท์มือถือรุ่นที่สาม หรือ 3G ส่งสัญญาณเสียงและภาพพร้อมกัน โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ ทำให้เราสามารถเห็นภาพของคู่สนทนาไปพร้อม ๆ กัน
10. จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช้และสังคม
ตอบ   ประโยชน์ ได้แก่ 
-การรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
-สนับสนุนการทำงานและกระบวนการผลิตเช่นการใช้คอมพิวเตอร์ในการวางแผนออกแบบและควบคุมระบบการทำงาน
-กระจายโอกาศด้านการศึกษมาให้ผูเรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถเรียนรู้ผ่านระบบการสอนทางไกลหรือผ่านดาวเทียมได้
-ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง 
-ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและกว้างไกล
-ช่วยทำให้วิทยาการต่างๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
โทษของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.การแพร่ภาพอนาจารบนเครือข่าย การล่อลวง เกมส์ออนไลน์ เป็นต้น
2.สิ้นเปลืองทรัพยากร เช่น น้ำมัน แก็ส และถ่านหิน จนกระทั้งน้ำ
3.เปลี่ยนสังคมชาวบ้าน ให้กลายเป็นวัตถุนิยม
4. ทำให้มนุษย์ขาดการออกกำลังกาย
5. ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน เพราะใช้แรงงานเครื่องจักรแทนแรงงานคน
6.
 ทำให้เสียเวลา ทั้งจากรายการไร้สาระในโทรทัศน์ จนกระทั่งนัก chat
7.หากใช้เว็ปไซด์จำพวก
 Social Network จะทำให้ผู้ใช้มีโลกเป็นของตนเอง ขาดการติดต่อกับผู้อื่น โดยเฉพาะที่เห็นชัดเจนเกิดช่องว่างระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก


คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่2
1.คำว่า  "ระบบ " และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร
      คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์
ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้น (รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท)
คือ การรวมสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมายที่มนุษย์ได้ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อดำเนินงานทั้งหลายให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ (เบวา เอช เบนาที Banathy)

2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร

  องค์ประกอบของระบบ
http://www.st.ac.th/av/images/system01.jpg

      1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input )  หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่าง ๆ เช่น  ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น
      2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน (Process) หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไปมาจัดกระทำ เพื่อให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ  เช่น การสอนของครู การให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น
      3. ผลผลิตหรือการประเมินผล (Output) หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผลงานของนักเรียน เป็นต้น
3.ระบบสารสนเทศ หมายถึงอะไร
หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมุลนั้นกลายเป็น สารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็ว
และถูกต้อง  



4.องค์ประกอบหลักของสารสนเทศ ได้แก่อะไร
      1. Hardware หมายถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการจัดกระทำกับข้อมูล
ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข
      2. Software หมายถึง ชุดคำสั่ง หรือเรียกให้เข้าง่ายว่า โปรแกรม ที่สามารถ
สั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานในลักษณะที่ต้องการภายใต้ขอบเขตความสามารถที่เครื่อง
คอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมนั้น ๆ สามารถทำได้ ซอร์ฟแวร์แบ่งออกเป็น ซอร์ฟแวร์ระบบ
และ ซอร์ฟแวร์ประยุกต์
       3 User หมายถึง กลุ่มผุ้คนที่ทำงานหรือเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
       4. Data  หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
ตัวหนังสือ แสง สี เสียง สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  ภาพ วัตถุ หรือ หลาย ๆ อย่างผสมผสาน
กัน ซึ่งข้อมูลที่ดีจะต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้
        5. Procedure หมายถึง  ขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน
ในระบบสารสนเทศ


5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร


ตอบ   สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ประกอบด้วย ข้อมูล (Data) สารสนเทศ(Information)ความรู้(Knowledge) ปัญญา (Wisdom) 
ด้านขั้นตอน ประกอบด้วย ข้อมูลนำเข้า(Input) กระบวนการ(Process) และผลลัพธ์(Output)
สารสนเทศทั่วไป คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล (Hardware) ข้อมูล (Data) สารสนเทศ(Information) โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์(Software)บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์(Peopleware)

6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร
ตอบ  มี4ขั้นตอน   ขั้นที่1การวิเคราะห์ระบบ แบ่งเป็น 4 หน่วยย่อย คือ
  1. วิธีวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน  2.วิเคราห์หน้าที่  3.วิเคราะห์งาน 4.วิเคราะห์วิธีการและสื่อ
ขั้นที่2การสังเคราะห์ระบบ  
1.  การเลือกวิธีการหรือกลวิธี เพื่อหาช่องทางไปสู่จุดมุ่งหมายแล้วทดสอบและทดลองกลวิธีเพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับสารสนเทศที่วิเคราะห์และสังเคราะห์ไว้
2.ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยเลือกกลวิธีที่เหมาะสม
3.ประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ขั้นที่3 การสร้างแบบจำลอง
7.ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระดับกลุ่ม กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ต่างกันตรงหน้าที่การทำงาน ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคลในหน้าที่รับผิดชอบ     ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เตรียมสภาวะแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม    ระบบสารสนเทศระดับองค์กร คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก
8.ข้อมูลและความรู้ คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
ตอบ ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ความรู้ เป็นสภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อหากระบวนการ และขั้นตอน อาจอยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิบหรือสารสนเทศระดับต่างๆหรืออาจอยู่ในรูปของอารมณ์ความรู้สึกและเหตุผล
มีความสำคัญกับสารสนเทศ นำข้อมูลที่ถูกกลั่นกรองด้วยวิธีต่างๆอาจอยู่ในรูปของภาพ แสง สี เสียง รูปทรง ตัวเลข สามารถนำไปใช้ได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็วและคุณค่าของสารสนเทศจะนำไปสู่ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อไป
9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร
ตอบ ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล   1.การรวบรวมข้อมูล  2.การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล  3.การจัดการข้อมูล  4.การควบคุมข้อมูล 5.การสร้างสารสนเทศ 
วิธีการเก็บข้อมูล    1.การสำรวจด้วยแบบสอบถาม 2.การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง  3. การนับจำนวนหรือวัดขนาดของตนเอง
10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่งที่ออมพิวเตอร์ใช้งานแตกต่างกัน
ตอบ แลน คือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ จำกัดเขตเฉพาะภายในบริเวณอาคารหรือกลุ่มอาคารที่อยู่ใกล้กัน เนื่องจากข้อจำกัดของตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูล เช่นภายในรั้วโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
แวน คือ เครือข่ายบริเวณกว้าง ระยะทางมากกว่า10กิโลเมตรขึ้นไปจนมากกว่าหลายพันกิโลเมตร ปกติเชื่อมโยงด้วยระบบสื่อสารสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ เครือข่ายเส้นใยแก้วนำแสง
อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครือข่ายแวนจำนวนมากซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลทั่วโลก





คำถามหน่วยการเรียนที่ 3


1. คอมพิวเตอร์หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
    เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่างๆสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบมีประโยชน์คือมีความเร็วในการทำงานสูง มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสัปดาห์หรือเป็นปีมีความถูกต้องแม่นยำสูง

2. คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร
    อุปกรณ์ชิ้นแรกซึ่งเป็นที่มาของคอมพิวเตอร์เริ่มจากการคิดค้นของชาวจีนในช่วงปี พ.ศ. 500 มีการประดิษฐ์ลูกคิด ต่อมาในปีพ.ศ. 2185 แบลส์  พาสคัล ได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลข ปีพ.ศ. 2376 ชาร์ล  แบบเบ็จ สร้างเครื่องคำนวณที่ทำงานโดยอาศัยโปรแกรมเป็นเครื่องแรกของโลก

3. ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
    ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ และหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS 
cycle) คือ
          1.ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
          2.ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
          3.ส่วนแสดงผล (Output Unit)
          4.หน่วยความจำ (Memory Unit)

4. ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไรส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร
    ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ซอฟต์แวร์ (Software)
บุคลากร (Peopleware)

 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้
หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล
   1.     หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse)  นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)
   2.    หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ
หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง
หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ
หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล
   3.    หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้โดยตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
หน่วยความจำภายใน
หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่
            2.    หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM
    3.หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เก็บผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer)
ซอฟแวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมชุดคำสั่งที่เขียนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม ซึ่งมี 2ประเภท คือ
ซอฟแวร์ควบคุมระบบ (System Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix
ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ
        บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการใช้และดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นต้น

5. ฮาร์ดแวร์หมายถึงอะไรส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไร
   ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่สมารถสัมผัสและจับต้องได้ส่วนประกอบที่สำคัญ ส่วนประมวลผล ส่วนความจำ อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล

6. ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
    หน่วยประมวลผลกลาง

7. หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม ( RAM ) และแบบรอม ( ROM ) ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
   แบบแรมต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลเป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้เพราะว่าไฟดับข้อมูลที่ถูกเก็บไว้จะถูกลบหายไปแบบรอมไม่ขึ้นกับไฟฟ้า และไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่ายต้องใช้เทคนิคพิเศษช่วยส่วนใหญ่ใช่ใน การเก็บโปรแกรมควบคุม

8. จานบันทึกข้อมูล ( HARD Disk ) ประกอบด้วยอะไรทำหน้าที่อย่างไร
     ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่นและเครื่องขับจานเป็นส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มีมอเเตอร์ทำหน้าที่ทุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูงมีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆลงบนผิวบนแผ่นดังกล่าว

9. บอกความหมายของคำต่อไปนี้ เมกะไบต์ ( Megabyte ) กิกะไบต์ ( Gigabit ) พิกเซล ( Pixel ) จิกะเฮิร์ซ ( GHz )
    
      กิกะไบต์[1][2] หรือ จิกะไบต์[1][2] (gigabyte) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์
 จิกะไบต์ มีขนาดอ้างอิงหลัก ๆ ได้สองอย่างคือ
 1 GB = 1,000,000,000 ไบต์ (หนึ่งพันล้านไบต์) ใช้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ และในวิศวกรรมสื่อสาร
 1 GB = 1,073,741,824 ไบต์ ซึ่งเท่ากับ 10243 หรือ 230 ไบต์ มีใช้ในระบบปฏิบัติการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันความสับสนระหว่างสองความหมายข้างต้น หน่วยงานมาตรฐาน IEC แนะนำให้เรียกปริมาณ 1,073,741,824 ไบต์เป็นชื่อใหม่ว่า จิบิไบต์ หรือ กิบิไบต์ (gibibyte) และใช้ตัวย่อว่า GiB แทน ในขณะที่ปริมาณ 1,000,000,000 ไบต์ยังคงใช้ จิกะไบต์ตามเดิม
เมกะไบต์ ( Megabyte ) เมกะไบต์ (อังกฤษ: megabyte) เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) หรือบางครั้งอาจพูดหรือเขียนเป็น เม็ก หรือ meg 
พิกเซล ( Pixel ) ความละเอียดของจุดภาพ จุดภาพ หรือ พิกเซล (อังกฤษ: pixel) เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียด (ความคมชัด) ที่แตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้จิกะเฮิร์ซ ( GHz ) gigahertz (กิกะเฮิร์ตซ์) ตัวย่อ GHz เป็นหน่วยของความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM) เท่ากับหนึ่งพันล้านเฮิร์ตซ์ (1,000,000,000 Hz) gigahertz ได้รับการใช้เป็นตัวชี้ความถี่ของ ultra-high-frequency (UHF) และสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไมโครเวฟ(microwave) และรวมถึงในบางคอมพิวเตอร์ ใช้แสดงความเร็วนาฬิกาของไมโครโพรเซสเซอร์

10. จอภาพ แป้นพิมพ์ เมาส์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์
      จอภาพ แสดงผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์แสดงผลได้ทั้งตัวหนังสือภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวแป้นพิมพ์ รับเข้าข้อมูลจากการกดเพื่อส่งต่อไปไห้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
เมาส์ ใช้ในการควบคุมตัวชี้ที่ปรากฎบนจอภาพเลื่อนไปสู่ตำแหน่งต่างๆที่ต้องการสามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมในการควบคุมคำสั่งก็ได้


คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4
1. ซอฟแวร์คืออะไรและทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ ชุดคำสั่งงานของคอมพิวเตอร์อย่างเป็นลำดับขั้นเป็นส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรงทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไรและเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ซอฟแวร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ 2 ประเภท ซอฟต์แวร์ระบบ  ซอฟต์แวร์ประยุกต์  ซอฟต์แวร์ 
3. ซอฟแวร์ระบบคืออะไร
ตอบ คือโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ
4. ซอฟแวร์ประยุกต์คืออะไร
ตอบ เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้เฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการเช่นงานพิมพ์เอกสาร โปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์
5. ซอฟแวร์เฉพาะงานคืออะไร
ตอบ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่างเช่นการตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์
6. ซอฟแวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ ซอฟต์แวร์เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการภาษาหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์สำคัญที่ทำให้คอมพิเตอร์แต่ละเครื่องทำงานแตกต่างกันได้มากมายซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญแลละจำเป็นของระบคอมพิวเตอร์หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้
7. ซอฟแวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบ ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่แปรภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปรภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงใหเป็นภาษาเครื่องโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาาาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอหรืออินเทอร์พีเตอร์
8. ระบบปฎิบัติการคืออะไรทำหน้าที่อะไร


ตอบ เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ตแวร์ทุกส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพทำหน้าที่จัดการข้อมูลและทำแฟ้มข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เช่นการสำเนาข้อมูล การเรียงลำดับ
คำถามท้ายหน่วยการเรีบนรู้ที่ 5   

1.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายความว่าอย่างไร
          ตอบ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ
        2.        ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ  ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
1. การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน
2. การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน
3. สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ 
4. สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ 
5.  ความประหยัด
 6. ความเชื่อถือได้ของระบบงาน

  3.  ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร
ตอบ   เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ที่ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก มักพบเห็นกัน ในองค์กรเดียวกัน
โดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เช่น อยู่ภาย อาคารเดียวกัน  ภายในตึกเดียวกัน เป็นต้น
  4.  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร
ตอบ อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก
         5.  ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการหมายความว่าอย่างไร
ตอบ  เป็นระบบเครือข่ายที่ทำให้เกิดการรวมพลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาทำงานร่วมกัน ขณะที่มีการนำระบบนี้มาใช้ในงานวิจัยเพื่อถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่กระจายอยู่ในประเทศต่างๆทั่วโลกสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยได้และแต่ละเครื่องจะได้รับส่วนแบบของงานคำนวณมาทำ สมรรถนะของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในเครือข่ายจึงยิ่งกว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ใดๆ ในโลก ทำให้งานวิจัยสามารภสำเร็จลุล่วงได้ในเพี่ยงไม่กี่ปี
   6. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ    เครือข่ายคอมพิวเตอร์มี 6 ประเภท
1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะที่หรือแลน        
2.เครือข่ายนครหลวงหรือแมน                        
3.เครือข่ายบริเวรกว้างหรือแวน                    
4.เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต          
5.เครือข่ายภายนอกองค์กรหรือเอกซ์ทราเน็ต    
6.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต 
 7.รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
ตอบ    4 รูปแบบ
1. แบบดาว (Star Topology)เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า ฮับ ( Hub ) ซึ่งเป็นจุดกลางในการติดต่อ เป็นเครือข่ายที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันเพราะติดตั้งและ ดูแลรักษาระบบง่าย ราคาวัสดุอุปกรณ์ก็ไม่แพง ข้อดีคือ เมื่อเครื่อง
คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งมีปัญหา จะไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องอื่นๆ ในเครือข่าย ข้อเสีย ถ้า Hub เสียจะใช้งานไม่ได้ทั้งระบบ ใช้สายสัญญาณติดตั้งมากกว่าแบบอื่น  
2. แบบวงแหวน (Ring Topology)เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเชื่อมต่อกันเป็นลักษณะแบบวงแหวน ข้อดี คือ สามารถเชื่อมได้ระยะทางที่ไกลกว่าแบบอื่นๆ ข้อเสียคือ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีปัญหา จะทำให้ระบบหยุดการทำงาน
 3. แบบบัส (Bus Topology) เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องต่อเชื่อมอยู่บนสายสัญญาณเดียวกัน เป็นการเชื่อมต่อสายแบบเส้นตรง จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรก แล้วโยงสายไปยังเครื่องที่ 2 3 ...ตามลำดับในลักษณะการต่อแบบอนุกรม การเชื่อมแบบนี้ทำได้ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ ถ้ามีปัญหาที่สายสัญญาณเส้นใดเส้นหนึ่ง จะส่งผลกระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย
4. แบบผสมผสาน (Hybrid) เป็นการเชื่อมต่อที่เอาแบบดาว แบบวงแหวนและแบบบัส มาผสมผสานกัน เพื่อลดจุดอ่อนและเพิ่มจุดเด่นให้กับระบบเครือข่าย



                                   คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 6

1.อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายความว่าอย่างไร
         อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
         อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ

2. จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง                                                
มีความสำคัญดังนี้
      1.สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆที่น่าสนใจ
   
     2. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
     3.นักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆเพื่อศึกษาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ

3. จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
1.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวกและรวดเร็ว
2. ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้
3.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
4.สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
5.ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น การฟังเพลง เล่นเกมส์ เป็นต้น
6.ใช้สื่อสารข้อความ ซึ่งเป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยการพินข้อความโต้ตอบ
7. ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
8.ซื้อขายสินค้าและบริการ

4. การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร
  อุปกรณ์แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณแอนาล็อกผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง และขณะเดียวกันยังสามารถแปลงสัญญาณแอนาล็อกกลับเป็นสัญญาณดิจิทัลได้

5. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
เป็นระบบข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลกซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่านั้น  สามารถอยู่ในหลายรูปแบบแตกต่างกัน เช่น เอกสาร รูปภาพ  ภาพเคลื่อนไหว  และเสียง  ข้อมูลเหล่านี้สามารถเชื่องโยงเป็นระบบสืบค้นได้ง่าย

6.จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E-mail
  1. ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
 2. ง่ายต่อการบริหารจัดการขององค์การ
 3. สะดวกในการนำข้อมูลมาใช้
 4. ประชาสัมพันธ์องค์การให้หน่วยงานอื่นได้ทราบ
 5. ประหยัดค่าใช้จ่ายขององค์การ

 คำถามท้ายบทหน่วยที่ 7 
   
1. จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท
ตอบ  1.อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายสำหรับองค์กรหนึ่งๆ เช่น อินทราเน็ตของบริษัท โตโยต้า จะทำให้บริษัทขนาดใหญ่ที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลกสามารถดูแลกิจการของสาขาต่างๆให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน 
 2. เอกซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายสำหรับองค์กรเช่นเดียวกับอินทราเน็ตแต่เปิดให้สมาชิกภายนอกที่ได้รับอนุญาติเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ด้วย เช่น เครือข่ายบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัดที่มีร้านวัสดุต่างๆเป็นสมาชิกให้ร้านเหล่านี้สามารถติดต่อสั่งซื้อสินค้าและรับบริการอื่นๆผ่านเครือข่ายนี้
 3. อินเทอร์เน็ต ทั้งอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลโดยมีเจ้าของกำหนดว่าใครเป็นสมาชิกของเครือข่ายได้แต่อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะไม่มีเจ้าของทุกคนสามารถเชื่อมต่อได้
 4. รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ เป็นเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ต่างกันเพราะฉนั้นการนำเสนอข้อมูลการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจึงแตกต่างกัน
2. อินทราเน็ตหมายความว่าอย่างไร
ตอบ  อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายสำหรับองค์กรหนึ่งๆ เช่น อินทราเน็ตของบริษัท โตโยต้า จะทำให้บริษัทขนาดใหญ่ที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลกสามารถดูแลกิจการของสาขาต่างๆให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน
3. จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ     http://www.google.com
            http://www.altavista.com
              http://www.excite.com
            http://www.yahoo.com
4. จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ google พอสังเขป
ตอบ ให้พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วกดบนแป้น enter และคลิกที่ปุ่ม go บนหน้าจอ google ก็จะขึ้นเว็บเพจที่ค้นพบ
5. Digital library  (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ การจัดเก็บสารสนเทศในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสิ่งพิมพ์
6.  จงยกตัวอย่างข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
ตอบ    http://www.school.net.th
           http://www.learn.in.th

คำถามท้ายบท   หน่วยที่ 8  
1.ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน
1.1 การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบ 1.ให้ผู้ฟัง ชม เข้าใจสาระของการนำเสนอ
       2.ให้ผู้ฟัง ชม เกิดความประทับใจซึ่งส่งผลสู่ความเชื่อในผลงานที่นำเสนอ
1.2 หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ   1.การดึงดูดความสนใจ
         2.ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
         3.ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
1.3 การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
ตอบ  1.การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม
        2.การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม
1.4  เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ เครื่องมือหลักคือ เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องฉายภาพจากจอคอมพิวเตอร์
1.5  รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. การนำเสนอแบบ slide presentation คือ ใช้โปรแกรม power point  ใช้โปรแกรม proshow gold ใช้โปรแกรม flip album
        2. รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ใช้โปรแกรม authorware  การใช้ระบบจัดการสอนในระบบออนไลน์ moodle
        3. รูปแบบ social network  การใช้เว็บบล็อก (weblog)เพื่อการเรียนการสอน   การนำเสนอแบบwebpage